นิยาม และมุมมองต่อผู้สูงอายุ 👴
🔎ปัจจุบันสังคมมีมุมมองใหม่ๆ
ต่อการนิยามความเป็นผู้สูงอายุ
ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของอายุเท่านั้น
ผู้คนเริ่มให้ความ"สนใจ"
กับพฤติกรรม ทัศนคติ
และบุคลิกภาพเป็นเรื่อง
"สำคัญ"การมีมุมมองต่อเรื่องต่างๆ
อย่างเข้าอกเข้าใจ
ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
และทันสมัยถูกมองว่าเป็นคนรุ่นใหม่
โดยปราศจากขีดจำกัดเรื่องอายุ
🌎สังคมประสาน 🌎
เริ่มมีการกล่าวถึง คำว่า
👱 “คนรุ่นใหม่” กับ “คนรุ่นใหญ่” 👨 มากขึ้น
สิ่งสำคัญ คือ
จะทำอย่างไรให้สังคมนั้น
สามารถอยู่ร่วมกันได้แบบสังคมประสาน
ทั้งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นใหญ่
ด้วยเหตุนี้การให้คำนิยาม
"คำว่า"👴สังคมผู้สูงอายุ
จึงต้องให้"ความสำคัญ"กับ
การเป็น"สังคมประสานมากขึ้น" คือ
การที่คนทุกวัยสามารถอยู่ร่วมกัน
👨👨👦👦ได้อย่างมีความสุข
ในปี 2564 ประเทศไทยเป็น
สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นแล้ว
และเหลือเวลา ⏰
อีกเพียงแค่ 10 ปี
จะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ
ระดับ"สุดยอด"👍
เรื่องที่จำเป็นคือ "การทำความเข้าใจ"
ความเป็น "ผู้สูงอายุ"
ในแบบที่ท่าน "ปรารถนา"
ไม่ใช่แบบที่เรา "อยากให้ท่านเป็น"
การให้ความสำคัญกับศักยภาพของผู้สูงอายุ
1.มิติทางกายของผู้สูงอายุ
เมื่อผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่
เสื่อมถอยลงนำมาซึ่งความรู้สึก
อยากออกจากสภาพสังคม
ซึ่งทางทฤษฎีเรียกว่า
"การแยกตนเอง" 👥
ไม่ว่าด้วยเหตุผลเรื่อง
"ความเจ็บป่วย" 👨⚕️
หรือ"ความยากจน" 💸
อาจส่งผลต่อความต้องการแยกตนเอง
ดังนั้น
จะทำอย่างไรจะ"ลดอุปสรรค"
กีดขวาง🚧ดังกล่าว เช่น
การถูกตีตราทำให้ผู้สูงอายุ
เข้าไม่ถึงการจ้างงาน หรือ
การถูก"ลดทอน"ศักยภาพว่า
สู้คนหนุ่ม👦สาว👧"ไม่ได้"
สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อคุณภาพ
ชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาว
สิ่งที่"สำคัญ"ที่สุด
ของครอบครัว👪คือ
...การไม่ดึงเอาศักยภาพผู้สูงอายุไป...
เพียงเพราะ😟
| "ความกังวล" หรือ "ความเป็นห่วง"
ทำให้ "ผู้สูงอายุ"
ไม่ได้ทำหลายสิ่งที่ปรารถนา
ทั้งที่ยัง "มีศักยภาพ" ที่จะทำได้ |😅
การที่จะรู้ได้ว่า สภาพร่างกาย
นั้นมีศักยภาพที่ดี💪ในระดับใด
และจะ"ฟื้นฟู"เฝ้าระวังในเรื่องใด
จำเป็นต้องให้ความสำคัญ
กับการประเมินสภาพร่างกาย📋
บนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น
🎌ประเทศ"ญี่ปุ่น"ให้ความสำคัญ
กับแบบประเมินความเสื่อมของร่างกาย
ที่ไม่ใช่การวัดจากแค่ความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น
หลักฐานเชิงประจักษ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
และควรเป็นบริการขั้นพื้นฐาน
ที่ทุกคนควร"เข้าถึง"
2.มิติทางจิตใจของผู้สูงอายุ 👴
ความทรงจำของผู้สูงอายุเป็นเรื่อง
ที่เกี่ยวข้องกับ"สภาพจิตใจ"💓
เพราะความทรงจำที่เลือนหายไป
ช้าที่สุดนั้นมักเกี่ยวข้องกับ
"ความรู้สึก"
ของผู้สูงอายุ เช่น
"ความชอบ👌" "ความเกลียด✋"
"ความรัก💗" "ความโกรธ 💢"
ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบ
ต่อ"จิตใจ"ผู้สูงอายุมาก
หากความทรงจำนั้นไปสัมพันธ์
กับความรู้สึกที่ไม่ดี
อาจส่งผลต่อความทุกข์ทางใจ
ของผู้สูงอายุ
จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
👪ครอบครัวต้องให้ความสำคัญ
กับการสร้างความรู้สึกที่ดี
และการให้ความสำคัญ
กับการ📞"สื่อสาร"
และการแสดงออกของผู้สูงอายุ
เพราะสิ่งนี้จะส่งผลต่อมิติ
ทางอารมณ์ของผู้สูงอายุด้วย
อย่ามองแค่ "พฤติกรรมการแสดงออก" เท่านั้น
ให้มองไปที่ "สาเหตุ"
หรือสิ่งที่อยู่ใน "จิตใจ" ของผู้สูงอายุด้วย
"อยากเห็นสังคมประสานกัน
สังคมที่ทุกวัยสามารถอยู่ร่วมกันได้
และทำกิจกรรมไปด้วยกันอย่างมีความสุข"
👉 สุดท้าย ฝากถึงแนวคิด💡
การดูแลแบบฮิวแมนนิจูด
"จากหนังสือ"📖 โดย
ฌีเนสเตอ และคณะ (2563) คือ
การดูแลโดยใช้ประสาทสัมผัส👪
และทำให้ผู้สูงอายุยังคงความเป็นมนุษย์
ภายใต้หลักการสำคัญเรื่อง
"การสบตา" "การพูด"
"การจัดท่าทาง" และ "การสัมผัส"
เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกัน
ในสังคมได้อย่างมีความสุขใน
Super Aged Society
ขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อการเผยแพร่ คุณพัชร์ เคียงศิริ เพจใส่ใจกินอยู่เป็น อยู่อย่างใส่ใจ EP6 เรารู้จักผู้สูงอายุมากแค่ไหน
เรื่องราวโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฏฐพัชร สโรบล
เอื้อเฟื้อภาพโดย ศูนย์สันทนาการและฟื้นฟูผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบึงยี๋โถ
อ้างอิง
ณัฏฐพัชร สโรบล. (ม.ป.พ.) .5 ทักษะในการทำงานกับผู้สูงอายุในชุมชน.
กรุงเทพมหานคร:จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
อีฟส์ ณีเนสเตอ,โรเชตต์ มาเรสสก็อตติ และ ฮนดะ มิวะโกะ (2563). ฮิวแมนนิจูด แนวคิดและเทคนิคใหม่ในการดูแลคนในครอบครัว. กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮอ พรินต์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.
Copyright 2021- Faculty of Social Administration Thammasat University